Monday, January 9, 2012

ประวัติ หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร


ลิขสิทธิ์ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร

กาลามสูตร

ของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมครู


1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา 2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆกันมา
3. อย่าปลงใจเชื่อ ค้วยการเล่าลือ
4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว
9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
10.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา


วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร

จะเป็นภาพถ่ายหรือรูปหล่อของหลวงปู่ท่าน หรือพระพิมพ์ที่หลวงปู่ท่านได้อธิษฐานจิตไว้ย่อมใช้ได้ทั้งสิ้น หลวงปู่ท่านโปรดผู้ประพฤติอยู่ในศีลธรรม ชอบอาหารมังสะวิรัติ ชอบฟังคำสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ชอบบูชาด้วยดอกมะลิสด น้ำฝน 1 แก้ว เทียนหนักหนึ่งบาท 1 คู่ ธูปหอม 5 ดอก (  คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร  1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า  2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า  3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)  4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าหรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปานหรือหลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี บางมด ) ) การปฏิบัติธรรมสังวรณ์ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยศีล 5 เป็นอย่างน้อย ย่อมเป็นสิ่งพึงพอใจของหลวงปู่และทั้งยังให้ความสุชความเจริญทั้งคดีโลกและคดีธรรมแก่ผู้ปฏิบัติ

สำหรับพิมพ์อรหันต์ พิมพ์ปิดตา และพิมพ์มหากัจจายนะซึ่งเป็นองค์เดียวกันแต่ปางต่างกันหากจะอาราธนาอย่างพิศดารก็ย่อมกระทำได้ กล่าวคือพิมพ์อรหันต์ใหญ่ พิมพ์อรหันต์กลางและพิมพ์อรหันต์น้อย อยู่ในหมวดพระมหากัจจายนะรูปงามซึ่งเป็นรูปเดิมก่อนการอธิษฐานวรกายให้ต่อท้ายด้วยคาถาดังนี้


พิมพ์อรหันต์
อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม
(เชยยะ อ่านว่า ไชยะ ; รูปะวะระ แปลว่า รูปงาม)


*** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ รูปะวะระเชยยะสิทธิเม
***
สำหรับสำหรับพิมพ์พระปิดตาซึ่งเป็นปางอธิษฐานวรกายให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วยพระคาถาต่อไปนี้


พิมพ์พระภควัมปติ(ปิดตา)

ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
*** โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***

สำหรับพิมพ์พุงพลุ้ยที่นิยมเรียกกันว่า พระสังกัจจายน์ คำนี้ไม่มีศัพท์นี้ในภาษาบาลี ที่ถูกต้องคือ พระมหากัจจายนะ เถระเจ้าอัน
เป็นปางหลังจากที่นิมิตวรกายแล้ว ให้สวดพระคาถา โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา แล้วต่อท้ายด้วย พระคาถาต่อไปนี้
อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
***โลกุตตะโร ปัญจะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา อรหันติกัจจายนะเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม ***
จะเห็นว่าตัดเอาคำว่า รูปะวะระออกไปเพราะสิ้นความงดงามแล้ว



พระพิมพ์ของคณะพระเทพโลกอุดรนั้นทุกรูปแบบทุกพิมพ์ทรงมีอานุภาพครอบจักรวาล อาราธนาทำน้ำมนต์ประสิทธิ์ยิ่งนัก โดยให้นำเอาพระแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเรียบร้อยแล้ว บูชาด้วยดอกไม้ จุดธูปเทียน แล้วอธิษฐานตามความมุ่งหมาย เสร็จแล้วให้รีบนำพระขึ้นเช็ดน้ำด้วยสำลีหรือผ้าสะอาด ผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปบรรจุตลับ องค์พระจะไม่ละลายลบเลือนและไม่ควรแช่ในน้ำนานเกินควร จงทะนุถนอมให้จงดี เพราะหาไม่ได้อีกแล้ว

สำหรับท่านที่มีพระอันเป็นทิพยสมบัติอันทรงคุณค่า โดยได้รับสืบทอดมาจากบรรพชนหรือได้รับจากทางใดทางหนึ่งก็ตาม เสมือนมีแก้วสารพัดนึกอยู่กับตัว ไม่จำเป็นต้องขวนขวายในอิทธิวัตถุอื่นอีก


วิธีบูชาพระบรมครูพระเทพโลกอุดร


คำบูชาบรมครูพระโลกอุดร
นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯลฯ ( 3 จบ )
โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร ปฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรา นุสาสะโก โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต อิฐะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ ปะระมะสาริกะธาตุ วะชิรัญจา ปิวานิตัง โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง เวเรนะ สุภาสิตัง โลกุตตะโร จะ มหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต โลกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา มะหาเถรา นุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม



บทสวด แบบย่อหรืออาราธนาพระพิมพ์ (ได้ทุกทรงพิมพ์)
โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
หรือภาวนา ๓ จบ , ๗ จบ , ๙ จบ (เช้า-เย็น ตื่นนอนและก่อนนอน)
โลกุตตะโร ปัญจะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นะโสมิยะ อะหะพุทโธ

หมายเหตุ : บทความที่นำมาเสนอนี้ได้รับการอนุญาตในการคัดลอกและเรียบเรียงเพื่อเผยแพรเป็นวิทยาทานจากท่าน อาจารย์ ประถม อาจสาคร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นพระคุณและความกรุณาอย่างยิ่ง

ผมขอเสริมนะครับ ท่านสามารถอาราธนาเป็นภาษาไทย ได้นะครับ ถ้ายังจำบทสวดของท่านไม่ได้ครับ

ท่านที่ห้อยพระหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ที่ท่านเมตตาเสกให้นั้น หากมีความจำเป็นที่ต้องไปในสถานที่อโคจรทั้งหลาย ผมมีบทสวดที่ใช้ในการนี้มาฝากทุกท่านครับ

ก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อิติภะคะโว
กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด โสภะคะวา

หรือก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อะระหัง
กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด หังระอะ


สำหรับท่านที่ได้บูชาพระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร อธิษฐานจิตไว้ให้นั้น ผมขอเรียนชี้แจงให้ทราบกันนะครับว่า การวางพระพิมพ์หรือวัตถุมงคลต่างๆ ต้องวางไว้ในที่เหมาะสม ควรใช้พวงมาลัยไว้พระพิมพ์ (เป็นการไหว้หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และเทวดาผู้ที่รักษาพระพิมพ์) พวงมาลัยที่ใช้ไหว้นั้น ต้องเป็นพวงมาลัยที่มีดอกรัก ,ดอกมะลิ ,ดอกกุหลาบ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ห้ามใช้พวงมาลัยที่เป็นดอกดาวเรืองโดยเด็ดขาด ส่วนการวางพวงมาลัย ควรหาพานมาเพื่อใช้ในการวางพวงมาลัยครับ


หากท่านใดที่ได้ทำบุญไม่ว่าจะเป็นการทำบุญเรื่องอะไรก็ตาม ควรที่จะกรวดน้ำให้กับองค์ผู้อธิษฐานจิต(ผู้เสก) ,พระองค์ท่านผู้มีพระราชดำรัสหรือพระบัณฑูรให้สร้าง ,ผู้สร้าง(ช่างสิบหมู่แห่งวังหน้า,วังหลวง,วังหลัง,ช่างราษฎร์) ,เจ้าของเดิม และเทวดาประจำองค์พระพิมพ์ด้วยทุกๆครั้งนะครับ

























สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) 



สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆัง มีนามเดิมว่า โต นามฉายาว่า พฺรหฺมรํสี ชาตะในสมัยรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๕๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๑ ที่หมู่บ้านตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สมเด็จพระพุฒาจารย์บวชเป็นสามเณรในรัชกาลที่ ๑ เจ้าคุณพระบวรวิริยเถร วัดสังเวชวิศยารามเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วท่านได้เล่าเรียนปริยัติธรรมอยู่ที่วัดระฆังจนมีความรู้แตกฉาน ครั้นอายุครบอุปสมบทเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๕๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บวชเป็นนาคหลวงที่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงเรียกกันว่าพระมหาโตตั้งแต่แรกบวชมา กล่าวกันว่าสมเด็จฯ ท่านเทศน์ไพเราะนัก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระเมตตาท่านมาก แต่ท่าน ไม่ปรารถนายศศักดิ์ เมื่อเรียนรู้พระปริยัติธรรมแล้วก็เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ และไม่รับเป็นถานานุกรม แต่เป็นนักเทศน์ ที่มีชื่อเสียงมาก ได้ทรงคุ้นเคยมาทั้งรัชกาลที่ ๒ และที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ ท่านได้ทูลขอตัวเสีย คงเป็นแต่พระมหาโตตลอดมา บางคนก็เรียกว่าขรัวโต เพราะท่านจะทำอะไรก็ทำตามความพอใจของท่าน ไม่ถือความนิยมของผู้อื่นเป็นใหญ่ อัธยาศัยของท่านมีความมักน้อยเป็นปกติ ถึงได้ลาภสักการะมาในทางเทศน์ก็เอาไปใช้ในการสร้างวัดเสียเป็นนิจ จึงมีผู้นับถือท่านมาก
ถึงรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะท่านไม่ขัด กล่าวว่าสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงทราบคุณธรรมของท่านยิ่งใหญ่เพียงไร จึงทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิตติ เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๙๕ เวลานั้นท่านมีอายุได้ ๖๕ ปี แล้ว ต่อมาอีก ๒ ปี ถึงปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ ก็ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระเทพกระวี ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) มรณภาพ จึงทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีชวด พ.ศ. ๒๔๐๗
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านถึงมรณภาพ เมื่อวันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๓๔ ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ อายุได้ ๘๕ ปี ครองได้ ๖๕ พรรษา
(ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นี้ คัดจากหนังสือทำเนียบพระราชาคณะกรุงรัตนโกสินทร์ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) การศึกษา
มีเรื่องเล่าว่า ในตอนที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)จะไปอยู่วัดระฆังฯ นั้น คืนวันหนึ่งพระอาจารย์ (ว่าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นาค เปรียญเอก วัดระฆัง) ฝันว่า มีช้างเผือกเชือกหนึ่งเข้ามากินหนังสือพระไตรปิฎกในตู้ของท่านหมด แล้วตกใจตื่น (ดูเหมือนพระอาจารย์จะเชื่อมั่นว่า ฝันอย่างนั้นท่านจะได้ศิษย์ที่ฉลาดหลักแหลมคนหนึ่ง) วันรุ่งขึ้นเผอิญเจ้าคุณอรัญญิกได้พาสามเณรโตไปฝากเป็นศิษย์ศึกษาพระปริยัติธรรม พระอาจารย์ก็รับไว้ด้วยความยินดี
ในสมัยที่สมเด็จฯ เป็นสามเณร ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อดำรงพระยศเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรโปรดปรานมาก ทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์ ได้พระราชทานเรือกราบกัญญาหลังคากระแชงให้ท่านใช้สอยตามอัธยาศัย แม้พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็ทรงพระเมตตา ครั้นอายุครบอุปสมบทในปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๕๐ ทรงพระกรุณาโปรดให้บวชเป็นนาคหลวงที่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอุปัชฌาย์

เรื่องประวัติสมเด็จฯ อันเนื่องด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น หนังสือประวัติขรัวโต (พระยาทิพโกษา เรียบเรียง) กล่าวว่า ท่านได้ศึกษาในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังฯ เป็นพื้น และไปศึกษาในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุฯ บ้าง และว่าเมื่อท่านเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระสังฆราชนั้น ก่อนจะเรียนท่านทูลสมเด็จพระสังฆราชว่า วันนี้ท่านจะเรียนตั้งแต่นี่ถึงนั่น ครั้นถึงเวลาเรียนท่านก็เปิดหนังสือออกแปลจนตลอดตามที่กำหนดไว้ ท่านทำดังนี้ทุกครั้ง จนสมเด็จพระสังฆราชรับสั่งว่า “ขรัวโตเขามาแปลหนังสือให้ฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันดอก”

สมเด็จฯ ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ช้านานอย่างไรไม่ปรากฏ ปรากฏแต่ว่าท่านรอบรู้ชำนาญพระไตรปิฎก เรื่องนี้มีหลักฐานประกอบในหนังสือเรื่อง ตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทรว่า “หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) วัดพระเชตุพนฯ เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณร ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตั้งแต่ท่านยังเป็น พระมหาโต เป็นลำดับมา จนสอบได้เป็นเปรียญ ๗ ประโยค” และในหนังสือชุมนุมพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า “ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ โปรดให้มีการสอบพระปริยัติธรรม ณ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ (เริ่มสอบวันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙) โปรดให้พระเทพกระวี (โต) วัดระฆังฯ เป็น กรรมการองค์หนึ่ง เพราะชำนาญพระไตรปิฎก ต่อมาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์” ดังนี้

สมเด็จฯ เป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญพระไตรปิฎกมาก ถึงได้รับยกย่องว่า “หนังสือดี” องค์หนึ่งในสงฆมณฑล เกียรตินิยมว่า “หนังสือดี” นั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในเรื่องประวัติวัดเบญจมบพิตรดังนี้

“ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าหนังสือดีนั้น ไม่จำเป็นจะต้องได้เป็นเปรียญประโยคสูง หรือเปรียญประโยคสูงจะได้รับยกย่องว่าหนังสือดีไปทุกองค์ เพราะแปลหนังสือได้เป็นเปรียญประโยคสูงเป็นสำคัญเพียงว่ารู้ภาษาบาลีดี ความรู้หลักพระศาสนาเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จะรู้ได้แต่ด้วยอ่านพระไตรปิฎก

คุณธรรมที่ยกย่องว่ารู้หนังสือดีนั้น ท่านกำหนดว่าต้องบริบูรณ์ด้วยองค์ ๒ คือรู้ภาษาบาลีดีจนสามารถอ่านพระไตรปิฎกได้ถ่องแท้เป็นองค์อัน ๑ กับต้องได้อ่านพระไตรปิฎกหมดทุกคัมภีร์ หรือโดยมากเป็นองค์อีกอย่าง ๑ จึงนับว่า “หนังสือดี”

สมเด็จฯ ท่านศึกษารอบรู้ชำนาญทั้งในทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ (ข้อนี้เป็นจุดเด่น ของท่านอันหนึ่ง ด้วยปรากฏว่าผู้มีชำนาญ เฉพาะแต่คันถธุระหรือวิปัสสนาธุระอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ที่เชี่ยวชาญทั้ง ๒ ธุระนั้น หาได้ยากยิ่ง) และท่านเป็นนักเสียสละ เมื่อได้ลาภสักการะมาในทางใดๆ ท่านก็ใช้จ่ายไปในการสร้างสิ่งสาธารณกุศลต่างๆ ดังมีปูชนียวัตถุสถานปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ นอกจากนี้ท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันดีงาม ควรแก่การเคารพบูชาของสาธุชนทั่วไป ดังนี้ นับว่าท่านได้บำเพ็ญบารมีธรรมเต็มเปี่ยม ดังบทบาลีว่า กตํ กรณียํ (บำเพ็ญบารมีสมบูรณ์แล้ว) และเพราะเหตุนี้ท่านจึงทรงอภินิหารเป็นวิสามัญบุคคลหาผู้เสมอเหมือนได้โดยยาก

คุณธรรม
คุณธรรมของสมเด็จฯ ที่นับว่ายอดเยี่ยมอย่างหนึ่งคือ มักน้อยสันโดษ ปรากฏว่าท่านมีอัธยาศัยยินดีในปัจจัยตามมีตามได้ ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ ได้ลาภสักการะมาในทางใดๆ ก็เอาไปใช้จ่ายในการกุศลต่างๆ มีสร้างวัดเป็นต้น

คุณธรรมของท่านคือ เมตตา เกื้อกูลอนุเคราะห์ สงเคราะห์แก่คนทุกชั้นไม่เลือกหน้า แม้ที่สุดโจรมาลักของ ท่านก็ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่โจร ดังมีเรื่องเล่ากันอยู่ข้างจะขบขันว่า ครั้งหนึ่งท่านนอนอยู่ มีโจรขึ้นล้วงกุฏิ โจรล้วงหยิบตะเกียงลานไม่ถึง ท่านช่วยเอาเท้าเขี่ยส่งให้โจร ท่านว่ามันอยากได้

เรื่องหนึ่งว่า ครั้งหนึ่งท่านไปเทศน์ในต่างจังหวัดโดยทางเรือ ได้เครื่องกัณฑ์เทศน์หลายอย่างมีเสื่อหมอนเป็นต้น ขากลับมาพักแรมคืนกลางทาง ตกเวลาดึกมีโจรพายเรือเข้าเทียบเรือของท่าน พอโจรล้วงหยิบเสื่อได้แล้ว เผอิญท่านตื่นจึงร้องบอกว่า “เอาหมอนไปด้วยซิจ๊ะ” โจรได้ยินตกใจกลัวรีบพายเรือหนี ท่านจึงเอาหมอนโยนไปทางโจรนั้น โจรเห็นว่าท่านยินดีให้ จึงพายเรือกลับมาเก็บเอาหมอนนั้นไป

อีกเรื่องหนึ่งว่า ครั้งหนึ่งท่านไปเทศน์ที่บ้านทางฝั่งพระนคร (ว่าแถววัดสามปลื้ม) โดยเรือพาย ท่านนั่งกลาง ศิษย์ ๒ คนพายหัวท้าย ขากลับมาตามทาง ศิษย์ ๒ คนคิดจัดแบ่งเครื่องกัณฑ์เทศน์กัน คนหนึ่งว่า “กองนี้ของเอ็ง กองโน้นของข้า” อีกคนหนึ่งว่า “กองนี้ข้าเอา เอ็งเอากองโน้น” ท่านเอ่ยถามขึ้นว่า “ของฉันกองไหนล่ะจ๊ะ” เมื่อถึงวัดศิษย์ ๒ คนได้ขนเอาเครื่องกัณฑ์เทศน์กันไปหมด ท่านก็มิได้บ่นว่ากระไร
คุณธรรมของสมเด็จฯ อย่างหนึ่งคือ ขันติ ท่านเป็น ผู้หนักแน่นมั่นคง สงบจิตระงับใจไม่ยินร้าย เมื่อประสบ อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ดังจะนำเรื่องมาเป็นอุทาหรณ์ เรื่องหนึ่งว
ครั้งหนึ่งมีบ่าวของท่านพระยาคนหนึ่ง บ้านอยู่หลังตลาดบ้านขมิ้น จังหวัดธนบุรี เสพสุรามึนเมาเข้าไปหาสมเด็จฯ ถามว่า “นี่หรือคือสมเด็จที่เขาเลื่องลือกันว่ามีวิชาอาคมขลัง อยากจะลองดีนัก” พอพูดขาดคำก็ตรงเข้าชก แต่ท่านหลบทันเสียก่อน แล้วท่านบอกให้บ่าวคนนั้นรีบหนีไปเสีย ด้วยเกรงว่ามีผู้พบเห็นจะถูกจับกุมมีโทษ ความนั้นได้ทราบถึงท่าน พระยาผู้เป็นนาย จึงจัดการลงโทษบ่าวคนนั้น โดยเอาโซ่ล่ามไว้กับขอนไม้ที่สนามหญ้าหน้าบ้าน ท่านทราบเรื่องได้ไปเยี่ยม เอาเงิน ๑ สลึงกับอาหารคาวหวานไปให้บ่าวคนนั้น ทุกวัน ฝ่ายท่านพระยาคิดเห็นว่า การที่สมเด็จฯ ทำดังนั้น ชะรอยท่านจะมาขอให้ยกโทษโดยทางอ้อม จึงให้แก้บ่าว นั้นปล่อยให้เป็นอิสระ

สมเด็จฯ ทรงคุณธรรมอีกอย่างหนึ่ง คือ ท่านมี คารวะอ่อนน้อม กล่าวกันว่าท่านไปพบพระพุทธรูป ท่านจะหลีกห่างราว ๔ ศอก แล้วนั่งลงกราบ ที่สุดไปพบหุ่นพระพุทธรูปท่านก็ทำดังนั้น เคยมีผู้ถาม ท่านตอบว่าดินก้อนแรกที่หยิบขึ้นมาปั้นหุ่น ก็นับเป็นองค์พระแล้ว เพราะผู้ทำตั้งใจมาแต่เดิมที่จะทำพระพุทธรูป ในหนังสือ “บุญญวัตร” นายชุ่ม จันทนบุบผา เปรียญ เรียบเรียง (พิมพ์ชำร่วยเป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพอุบาสิกาเผื่อน จันทนบุบผา ณ เมรุวัดระฆังฯ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๙๕) ความตอนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องสมเด็จฯ เคารพหุ่นพระพุทธรูป ดังคัดมาลงไว้ต่อไปนี้

“ข้าพเจ้าได้รับบอกกล่าวจากท่านพระครูปลัดสัมพิพัฒนสีลาจารย์ (ชม จันทนบุบผา) ถานานุกรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) วัดระฆังฯ ผู้เป็นลุงมาอีกต่อหนึ่ง ท่านเล่าว่า เมื่อครั้งท่านเป็นเด็กอายุราว ๑๕ ปี ได้เป็นศิษย์ของท่านปลัดฤกษ์ คราวหนึ่งไปสวดมนต์ที่บ้านชาวเหนือ (คือบ้านช่างหล่อปัจจุบันนี้) ไปพร้อมกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ที่บ้านนั้นเขาเอาหุ่น พระพุทธรูปตั้งผึ่งแดดไว้ห่างทางเดินราว ๒ ศอก เมื่อสมเด็จฯ เดินผ่านมาในระยะนี้ท่านก้มกายยกมือขึ้นประนมเหนือศีรษะกระทำคารวะ พระและศิษย์ที่ไปด้วยก็กระทำตาม เมื่อขึ้นบ้านงานและนั่งบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว นายเทศผู้ช่วยเจ้าภาพซึ่งคุ้นเคยกับสมเด็จฯ ได้เรียนถามว่า “กระผมสงสัยเพราะไม่เคยเห็นเจ้าคุณสมเด็จฯ กระทำดังนี้” ท่านจึงตอบว่า “แต่ก่อนไม่เคยเห็นจริงจ้ะ แต่วันนี้เป็นเหตุบังเอิญจ้ะ เพราะฉันเดินผ่านมาในเขตอุปจารของท่านไม่เกิน ๔ ศอก จึงต้องทำดังนี้” นายเทศจึงเรียนว่า “ยังไม่ยกขึ้นตั้งและยังไม่เบิกพระเนตร จะเป็นพระหรือขอรับ” ท่านตอบว่า “เป็นจ้ะ เป็นตั้งแต่ผู้ทำหุ่นยกดินก้อนแรกวางลงบนกระดานแล้วจ้ะ เพราะผู้ทำตั้งใจให้เป็นองค์พระอยู่แล้ว เรียกอุทเทสิกเจดีย์ยังไงล่ะจ๊ะ” เมื่อสวดมนต์จบแล้ว ขากลับผ่านมาท่านก็กระทำอย่างนั้นอีก

รุ่งขึ้นท่านไปฉัน ตอนนี้ท่านเห็นพระตั้งอยู่ไกลออกไปราว ๖ ศอก ต่อจากทางที่ท่านไปเมื่อวาน ท่านไปหยุดยืนอยู่ตรงหน้าพระ และประนมมือพร้อมกับพระที่ไปด้วย ประมาณสัก ๑ นาทีแล้วจึงขึ้นไปบนเรือน เมื่อกระทำภัตตกิจเสร็จ เจ้าภาพถวายเครื่องสักการะและท่านยถาสัพพีเสร็จแล้ว ท่านก็นำธูปเทียนดอกไม้ที่เจ้าภาพถวายไปสักการบูชาพระที่ขึ้นหุ่นไว้นั้น พร้อมกับพระสงฆ์ที่ตามมาด้วยกันแล้วจึงกลับวัด”

เล่ากันว่า เมื่อสมเด็จฯ ไปพบพระเณรแบกหนังสือคัมภีร์ไปเรียน ท่านจะต้องนั่งประนมมือหรือก้มกายแสดงคารวะพระธรรม แม้ใครจะฉายรูปฉายาลักษณ์ของท่านในอิริยาบถใดก็ตาม ถ้าในที่นั้นมีหนังสือเทศน์ ท่านจะต้องหยิบขึ้นมาถือประหนึ่งเทศน์เสมอ อีกอย่างหนึ่งถ้าท่านไปพบพระเณรกำลังแสดงธรรม (เทศน์) อยู่ ท่านจะต้องหยุดฟังจนจบแล้วจึงไปในที่อื่น
ว่าที่ท่านทำดังนี้ ด้วยท่านประสงค์จะประพฤติตามเยี่ยงอย่างพระพุทธเจ้าทรงสดับธรรมที่พระอนุรุทธ์แสดง ความว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปพบพระอนุรุทธ์กำลังแสดงธรรมอยู่ พระองค์ได้ประทับยืนฟังจนจบ เมื่อพระอนุรุทธ์ ทราบ จึงทูลขออภัยที่ทำให้ประทับยืนนาน พระองค์ทรงตรัสว่า แม้จะนานกว่านั้นสักเท่าไรก็จะประทับยืน เพราะพระองค์ทรงเคารพในธรรม ดังนี้
อนึ่งว่ากันว่า พระภิกษุจะมีพรรษาอายุมากหรือน้อย ก็ตาม เมื่อไปกราบท่านๆ ก็กราบบ้าง (ว่าจะกราบท่านกี่ครั้ง ท่านก็กราบตอบเท่านั้นครั้ง) พระอุปัชฌาย์เดช วัดกลางธนรินทร์ จังหวัดสิงห์บุรีว่า ครั้งหนึ่งไปหาเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่วัดระฆังฯ เมื่อกราบท่าน ท่านก็กราบตอบ พระอุปัชฌาย์เดชนึกประหลาดใจ จึงกราบเรียนถามว่าทำไมท่านจึงต้องทำดังนั้น ท่านตอบว่า ท่านทำตามบาลีพุทธฎีกาที่ว่า วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ ผู้ไหว้ (กราบ) ย่อมได้รับไหว้ (กราบ) ตอบ ดังนี้





เผชิญหน้านักปราชญ์

ที่บ้านสมเด็จพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) มีการประชุมนักปราชญ์ทุกชาติ ทุกภาษา ล้วนเป็นตัวสำคัญๆ รอบรู้การศาสนาของชาตินั้น
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ให้ทนายอาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปแสดงเผยแผ่ความรู้ในสิ่งที่ถูกที่ชอบด้วยการโลกการธรรม ในพุทธศาสนาอีกภาษาหนึ่งในชาติของสยามไทย
สมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ ยินคำอาราธนา จึงรับสั่งว่า
“ฉันยินดีแสดงนักในข้อเข้าใจ”
ทนายกลับไปกราบเรียนสมเด็จพระประสาทว่า
“สมเด็จฯ ที่วัดรับแสดงแล้ว ในเรื่องแสดงให้รู้ความผิดถูกทั้งปวงได้”
ถึงวันกำหนด สมเด็จฯ ก็ไปถึง
นักปราชญ์ทั้งหลายยอมให้นักปราชญ์ของไทย ออกความก่อนในที่ประชุมปราชญ์ และขุนนางทั้งปวงก็มาประชุมฟังด้วย
สมเด็จพระประสาทจึงอาราธนาสมเด็จฯ ขึ้นบัลลังก์ แล้วนิมนต์ให้สำแดงทีเดียว
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ออกวาจาสำแดงขึ้นว่า พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พึมพำทุ้มๆ ครางๆ ไปเท่านี้นาน กล่าวพึมพำสองคำเท่านี้สักชั่วโมงหนึ่ง
สมเด็จพระประสาทลุกขึ้นจี้ตะโพกสมเด็จฯ ที่วัดแล้ว กระซิบเตือนว่า ขยายคำอื่นให้ฟังบ้าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็เปล่งเสียงดังขึ้นกว่าเดิมอีกชั้นหนึ่งขึ้นเสียงว่า พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา ฯลฯ ว่า อยู่นานสักหนึ่งชั่วโมงอีก
สมเด็จประสาทลุกขึ้นมาจี้ตะโพกสมเด็จฯ ที่วัดอีก ว่าขยายคำอื่นให้เขาฟังรู้บ้างซิ สมเด็จฯ ที่วัดเลยตะโกนดังกว่าครั้งที่สองขึ้นอีกชั้นหนึ่งว่า พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา
อธิบายว่า การของโลกก็ดี การของชาติก็ดี การของศาสนาก็ดี กิจที่จะพึงกระทำต่างๆ ในโลกก็ดี กิจควรทำสำหรับข้างหน้าก็ดี กิจควรทำให้สิ้นธุระทั้งปัจจุบันและข้างหน้าก็ดี สำเร็จกิจเรียบร้อยดีงามได้ ด้วยกิจพิจารณาเป็นชั้นๆ พิจารณาเป็นเปราะๆ เข้าไป ตั้งแต่หยาบๆ และปูนกลางๆ และชั้นสูงชั้นละเอียด พิจารณาให้ประณีตละเมียดเข้า จนถึงที่สุดแห่งเรื่อง ถึงที่สุดแห่งอาการ ให้ถึงที่สุดแห่งกรณี ให้ถึงที่สุดแห่งวิธี ให้ถึงที่สุดแห่งประโยชน์ยืดยาว พิจารณาให้รอบคอบทั่วถึงแล้ว
ทุกๆ คนจะรู้จักประโยชน์คุณเกื้อกูลตน ตลอดทั้งเมื่อนี้เมื่อหน้าจะรู้ประโยชน์อย่างยิ่งได้ ก็ต้องอาศัยกิจพิจารณาเลือกเฟ้นค้นหาของดีของจริง เด่นเห็นชัดปรากฏแก่คน ก็ด้วยการพิจารณาของคนนั่นเอง ถ้าคนใดสติน้อย ถ่อยปัญญา พิจารณา เหตุผล เรื่องราว กิจการงาน ของโลก ของธรรม แต่พื้นๆ ก็รู้ได้พื้นๆ ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาเป็นอย่างกลางก็รู้เพียงชั้นกลาง ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดลึกซึ้ง ในข้อนั้นๆ อย่างสูงสุด ไม่หลับหูหลับตา ไม่งมงายแล้ว อาจจะเห็นผลแก่ตนประจักษ์แท้แก่ตนเอง ดังปริยายมา ทุกประการ จบที
จบแล้ว ท่านลงจากบัลลังก์ นักปราชญ์ชาติอื่นๆ ภาษาอื่นๆ มีแขกแลฝรั่งเป็นต้น ก็ไม่อาจออกปากขัดคอคัดค้าน ถ้อยคำของท่านสักคน
สมเด็จเจ้าพระยาพยักหน้าให้หมู่นักปราชญ์ในชาติทั้งหลายที่มาประชุมคราวนั้นให้ขึ้นบัลลังก์ ต่างคนต่างแหยงไม่อาจนำออกแสดงแถลงในที่ประชุมได้ ถึงต่างคนต่างเตรียม เขียนมาก็จริง
แต่คำของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ครอบไปหมด จะยักย้ายโวหารหรือจะอ้างเอาศาสดาของตนๆ มาแสดงในที่ประชุมเล่า เรื่องของตัวก็ชักจะเก้อ จะต่ำจะขึ้นเหนือความพิจารณาที่สมเด็จฯ ที่วัดระฆังกล่าวนั้นไม่ได้เลย ลงนั่งพยักหน้าเกี่ยงให้กันขึ้นบัลลังก์ใครก็ไม่อาจขึ้น สมเด็จพระประสาทเองก็ซึมทราบได้ดี เห็นจริงตามปริยายของทางพิจารณารู้ได้ตามนั้น ตามภูมิ ตามกาล ตามบุคคล ที่ยิ่งและหย่อน อ่อนและกล้า จะรู้ได้ก็ด้วยการพิจารณา ถ้าไม่พิจารณา ก็หาความรู้ไม่ได้เลย ถ้าพิจารณาต่ำ หรือน้อยวันพิจารณา หรือน้อยพิจารณาก็มีความรู้น้อย ห่างความรู้จริงของสมเด็จฯ ที่วัดทุกประการ
วันนั้นก็เป็นอันเลิกประชุมปราชญ์ ต่างคนต่างลากลับ











หลวงปู่ทวด


ทารกอัศจรรย์
         
เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้
 นี้มีนายว่า “ปู” เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา

สามีราโม
        
 เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า “ราโม ธมฺมิโก” แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า “เจ้าสามีราม” หรือ “เจ้าสามีราโม” เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง
         
เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา
         เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ

รบด้วยปัญญา
         
กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงปู่ทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์
         เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่าพระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย




พระสุบินนิมิต


เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมด
ครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบรรทม
รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที

อักษรเจ็ดตัว

         ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ “เจ้าสามีราม” ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า “เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้” ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีราท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า “ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด” ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า “ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด”
         ครั้นแล้วท่านก็คว่ำบาตรเทอักษรทองคำเริ่มแปลปริศนาธรรมทันที ด้วยอำนาจบุญญาบารมี กฤษดาภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา กอปรกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เดชะบุญญาบารมีในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดาทั้งหลายจึงดลบันดาลให้ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรจากเมล็ดทองคำ 84,000 ตัว เป็นลำดับโดยสะดวกไม่ติดขัดประการใดเลย
         ขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว ปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ด พราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้น 






No comments:

Post a Comment